6 วิธีลดเค็ม ลดโซเดียม ลดโรค 

6 วิธีลดเค็ม ลดโซเดียม ลดโรค 

การทานอาหารรสเค็มจัด หรือทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมเกินที่ร่างกายต้องการ ส่งผลให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องคอยขับของเสียออกจากร่างกายให้ได้มากที่สุด และยังก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว หากไม่อยากป่วย หรือต้องคอยไปล้างไตที่โรงพยาบาล ความเจ็บและทรมานของร่างกาย แถมยังต้องจำกัดประเภทอาหารการกินเมื่อป่วย เรามาลดเต็ม ลดโซเดียม เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายในอนาคตกับ 6 วิธีต่อไปนี้กันดีกว่า 

1. เลือกทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง

ลดการเติมเกลือ ซอสปรุงรส และน้ำปลาขณะปรุงอาหาร และเมื่อจะทานอาหารควรชิมก่อนปรุงทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารมีรสจัดเกินไป จนทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ก่อให้เกิดโทษและโรคต่าง ๆ ตามมา 

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องปรุงเพิ่ม

หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ต้องปรุงเพิ่ม หรือต้องทานเคียงกับน้ำจิ้มหรือซอสต่าง ๆ คู่กับน้ำจิ้ม เช่น พริกน้ำปลา น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มมะขาม น้ำส้มสายชู น้ำจิ้ม พริกคั่ว เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เพราะส่วนใหญ่คนไทยจะคุ้นเคยกับการเติมพริกน้ำปลา หรือปรุงรสด้วยซอสและน้ำจิ้มต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมให้กับร่างกายโดยไม่รู้ตัว 

3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด 

อาหารรสจัดแสนอร่อยมักจะเติมเต็มไปด้วยเครื่องปรุงอย่าง ผงชูรส น้ำปลา น้ำปลาร้า ซอสต่าง ๆ เมื่อผสมรวมกัน ยิ่งเป็นการเพิ่มโซเดียมให้มีปริมาณสูงมากเกินกำหนด สะสมในร่างกายทุกวัน จนเกิดโรคตามมาในที่สุด 

4. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป และอาหารหมักดอง 

อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ขนมขบเคี้ยว และอาหารหมักดอง มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก เพื่อถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นาน และเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร หากหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว จะช่วยลดปริมาณโซเดียมเข้าสู่ร่างกายได้ 

5. ดูข้อมูลจากฉลากโภชนาการก่อนซื้อ

การอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้อ จะช่วยให้เราทราบถึงชนิดและปริมาณสารอาหารในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทำให้เราสามารถเลือกอาหารที่เหมาะกับแต่ละบุคคล และยังหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมากเกินไปได้อีกด้วย 

6. ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศแต่งกลิ่นและปรุงรส

เลือกใช้สมุนไพร หรือเครื่องเทศแต่งกลิ่นและปรุงรสแทนน้ำปลาหรือซอสต่าง ๆ เพราะนอกจากได้ลดโซเดียมแล้ว ยังได้ประโยชน์จากสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ อีกด้วย 

สำหรับใครที่ยังคุ้นเคยกับอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม อาจจะค่อนยากในการลดเค็มในช่วงแรก ๆ แต่ถ้าลดเค็มต่อเนื่อง 21 วัน ลิ้นจะค่อย ๆ ปรับกับรสชาติ จนทำให้ร่างกายเคยชินและลดการกินเค็มได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ลดปริมาณโซเดียมลงได้ในที่สุด 

administrator

Related Articles