ทำอย่างไรเมื่อไทยครองอันดับ 1 ค่าฝุ่น PM 2.5 เข้าขั้นวิกฤติโลก 

คุณภาพชีวิตของคนไทยจะเป็นเมื่อค่า PM 2.5 วัดได้ถึง 516 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในอำเภอแม่สาย และในอำเภอเมืองเชียงรายได้วัดได้ 227 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่แม้แต่ในห้องคลอดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้แสดงค่าฝุ่นที่เกินมาตรฐานถึง 389 ไมโครกรัม แม้ว่าจะใช้เครื่องฟอกอากาศช่วยแล้วก็ตาม ทำให้ปอดของเหล่าทารกแรกเกิดต้องทำงานหนักตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตสู่โลกใบนี้ แถมประเทศไทยครองอันดับ 1 จาก 10 เมืองที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานมากที่สุดในโลก ซึ่งทั้ง 10 เมืองที่มีค่าเกินมาตรฐานในขณะนี้ ได้แก่ 

10 เมืองที่มีค่าฝุ่นขั้นวิกฤติ (ล่าสุด) 

  • อันดับ 1 เชียงใหม่ ประเทศไทย 
  • อันดับ 2 เมืองเดลี ประเทศอินเดีย 
  • อันดับ 3 เมืองลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน 
  • อันดับ 4 เมืองการาจี ประเทปากีสถาน 
  • อันดับ 5 เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 
  • อันดับ 6 เมือง กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล 
  • อันดับ 7 เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนม่าร์ 
  • อันดับ 8 เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน 
  • อันดับ 9 เมืองธากา ประเทศบังคลาเทศ 
  • อันดับ 10 เมือง Ulaanbaatar ประเทศมองโกเลีย 

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร และค่า PM 2.5 ดูยังไง 

ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองซึ่งเป็นมลพิษในอากาศที่มีอนุภาคเล็กมาก (Particle Matter หรือ PM) โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กมากเพียงแค่ 2.5 ไมโครมิเตอร์ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของเส้นผมของคน จึงสามารถมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอนเท่านั้น  

PM 2.5 ค่าปกติเท่าไร และ PM 2.5 เท่าไรถึงจะอันตราย 

เราสามารถดูค่ามาตรฐาน PM 2.5 จากองค์การอนามัยโลกกำหนด และ กรมควบคุมมลพิษประเทศไทย 

  • องค์การอนามัยโลก ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ไม่เกิน 25 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ใน 24 ชั่วโมง หากเกินดังนี้ ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
  • กรมควบคุมมลพิษประเทศไทย กำหนดค่า PM 2.5 ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ใน 24 ชั่วโมง หากเกินนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ 

PM 2.5 มาจากไหน 

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้และการใช้พลังงานต่าง ๆ เช่น ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การเสียดสีของผ้าเบรก โรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ การเผาจากทางการเกษตร การเผาขยะ รวมไปถึงปฏิกิริยาทางเคมีในอากาศ  

PM 2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพ 

ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โพรงจมูก ปอด หัวใจ การหมุนเวียนของเลือด และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ตั้งแต่การไอ จาม น้ำมูกไหล แสบตา น้ำตาไหล ระคายคอ หายใจลำบาก เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่าง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว 

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ควรอย่างไร 

  • ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่มีความเสี่ยงมีมลพิษสูง 
  • หากมีความจำเป็นหรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น N95 ตลอดเวลาในขณะอยู่ในพื้นที่เสี่ยง 
  • สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นทุกครั้งที่ต้องออกไปยังพื้นที่โล่งแจ้ง และไม่ควรอยู่ในพื้นที่มีฝุ่นสูงเป็นระยะเวลานาน 
  • ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เพื่อขับฝุ่นพิษจากในร่างกาย 
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะแหล่งอาหารที่มีวิตามินซีและอี 
  • หมั่นทำความสะอาดบ้านหรือพื้นที่อาศัยในอาคารเพื่อป้องกันฝุ่น
  • ปิดประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ภายในบ้านหรือภายในอาคาร
  • ใช้ระบบฟอกอากาศช่วย 
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรหมั่นตรวจสุขภาพ หากพบสิ่งผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ 
administrator

Related Articles