6 วิธีป้องกันภูมิแพ้หน้าฝน

6 วิธีป้องกันภูมิแพ้หน้าฝน

ฝนมารัว ๆ แบบนี้ พาลพาป่วยได้ง่าย ๆ ได้เลยนะ ไหนจะสภาพอากาศ ไหนจะสารปนเปื้อนที่มาพร้อมกับเม็ดฝน ยิ่งคนที่เป็นภูมิแพ้ ยิ่งต้องระวังภูมิแพ้กำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เพราะสารก่อภูมิแพ้ที่มาพร้อมหน้าฝนอาจทำให้ป่วยง่ายกว่าปกติ แต่เรามี 6 วิธีที่ช่วยป้องกันภูมิแพ้หน้าฝนมาฝาก ทำได้ง่าย ๆ ที่บางครั้งเราอาจหลงลืมไปบ้าง 

6 วิธีป้องกันภูมิแพ้หน้าฝน

1. ตรวจเช็กคุณภาพอากาศอยู่เสมอ 

เดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศให้โหลดมากมาย สามารถเลือกโหลดแอปฯ ได้ใน Google Play เพื่อไว้ตรวจเช็กพยากรณ์อากาศ และ ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) อัพเดทข้อมูลแบบ Realtime อยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกนอกบ้าน เพื่อจะได้เตรียมพร้อม และสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องออกไปเผชิญกับสภาพอากาศนอกบ้าน เช่น อุปกรณ์ป้องกันฝน แมสกันฝุ่น เป็นต้น 

2. ตรวจสอบคุณภาพอากาศในบ้านเป็นประจำ

สามารถใช้แอปพลิเคชันจากข้อที่ 1 และแอปพลิเคชันวัดคุณภาพอากาศ ปริมาณฝุ่น อุณหภูมิ และ ความชื้น ที่สามารถเลือกโหลดได้จาก Google Play เช่นกัน การใช้เครื่องฟอกอากาศ ช่วยปรับสภาพอากาศภายในบ้านให้สะอาด ปลอดเชื้อโรค และสารก่อภูมิแพ้ 

3. รักษาระดับความชื้นภายในบ้านให้เหมาะสม

ควรรักษาระดับความชื้นภายในบ้าน โดยสามารถใช้เครื่องวัดความชื้น หรือเช็กผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ควรให้อากาศแห้งหรือชื้นเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อโพรงจมูกและสุขภาพได้ ภายในบ้านควรมีความชื้นระหว่าง 30 – 60% หรือใช้เครื่องพ่นไอน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ป้องกันอาการแสบคอ แสบจมูก ช่วยเรื่องระบบการหายใจ 

4. ปิดประตู – หน้าต่าง ขณะฝนตก 

ขณะที่ฝนตก ฝุ่นละออง สปอร์เชื้อรา ละอองเกสร และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จะถูกลมพัดพาลอยเข้าไปในบ้าน กระตุ้นก่อให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นได้ ยิ่งช่วงนี้สภาพอากาศชวนให้ร่างกายป่วยได้ง่ายกว่าปกติ จึงควรปิดกั้นทุกช่องทางที่จะรับปัจจัยเร้ามากระตุกต่อมป่วยถึงในบ้าน 

5. หมั่นทำความสะอาดบ้าน

ความสะอาดกับโรคภูมิแพ้เกี่ยวข้องกันมากแค่ไหน คนเป็นภูมิแพ้เข้าใจในข้อนี้ดี เพราะฉะนั้น แม้ว่าปกติจะทำความสะอาดบ้านเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ยิ่งหน้าฝน หรือช่วงที่ฝนตกบ่อย ยิ่งต้องเพิ่มการทำความสะอาดเป็น 2 เท่า ทั้งหัวเตียง ฟูกที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าม่าน พรม หรือโซฟา โดยเฉพาะมุมอับต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่น และฝุ่นละอองต่าง ๆ ตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ 

6. เตรียมยาประจำตัว 

สำหรับผู้ที่มียาประจำตัวโดยเฉพาะ ควรเตรียมเอาไว้ในจุดที่สะดวกต่อการหยิบใช้ และพกพาติดตัวอยู่เสมอ รวมไปถึงยาพ่นจมูก ยาแก้อาการคัดจมูก ยาลดน้ำมูก และควรวางยาไว้ตรงหัวเตียงนอนด้วย เพราะอาการภูมิแพ้ส่วนใหญ่จะเกิดช่วงก่อนนอน จนอาจขัดขวางสุขภาพการนอนได้ 

administrator

Related Articles