ทำงานหนักเกินไป อาจกลายเป็น“โรคคาโรชิ ซินโดรม” 

ทำงานหนักเกินไป อาจกลายเป็น“โรคคาโรชิ ซินโดรม” 

โรคคาโรชิ หรือ Karoshi คือ โรคทำงานหนักจนตาย เกิดจากใช้ร่างกายหนักเกินไปในการทำงาน รวมไปถึงการทุ่มเททำงานตรงหน้า จนลืมใส่ใจสุขภาพของตนเอง และนำไปสู่หนทางแห่งความตายจากการทำงาน 

ขัดแย้งกับประโยคที่เคยมีคนเอ่ยไว้ว่า งานหนักไม่เคยทำให้ใครตาย แต่ความเป็นจริง ทุกคนสามารถตายได้จากการทำงานหนักเกินไป! ซึ่งเราเคยได้ยินข่าวประเภทนี้อยู่เนือง ๆ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เพราะคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทุ่มเทให้กับทำงาน และทำงานกันอย่างจริงจังมาก ๆ จนแทบจะเรียกได้ว่า บ้างาน อย่างแท้จริง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้เกิดเคสกับพนักงานคนไทยที่ฟุบหลับเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการโหมทำงานหนักต่อเนื่องแบบข้ามคืนข้ามวัน จนกลายเป็นข่าวหลายเดือนที่ผ่านมาแล้ว นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่า โรคคาโรชิ ซินโดรม มันใกล้ตัวกว่าที่คิด 

โรคคาโรชิ ซินโดรม คืออะไร 

อย่างที่กล่าวไปแล้วแต่ต้นว่า โรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) คือ โรคทำงานหัก ไม่สบาย หรืออาจถึงขั้นตาย อันเนื่องมาจากความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียดสะสม จนทำให้เสียสุขภาพโดยไม่รู้ตัว และทำให้เกิดอาการร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ช็อค หัวใจวาย จนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด 

โรคคาโรชิ เกิดขึ้นในครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่พบพนักงานฝ่ายสถานีโทรทัศน์ชื่อดังแห่งหนึ่ง เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวจากการทำงานล่วงเวลาติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีพนักงานในบริษัทเอเจนซี่ชื่อดังหลายแห่ง ทนกับความกดดันจากงานที่ทำ และความเครียดที่สะสมไม่ไหว จนต้องจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นกระแสให้ชาวญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจกับผลกระทบจากการทำงานหนักอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อลดปัญหาต้นตอของโรคคาโรชิ รวมไปถึงกรณีของการฆ่าตัวตาย 

โรคคาโรชิ อาการมีลักษณะอย่างไร 

อาการของโรคคาโรชิ ซินโดรม มีดังนี้ 

  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน 
  • คิดหมกหมุ่นแต่เรื่องงานแทบตลอดเวลา จนสมองแทบจะไม่ได้พักผ่อน จนอาจถึงขั้นนำไปฝัน
  • ใช้เวลาทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน 
  • เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ความกดดัน 
  • ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน 
  • แทบไม่ใช้วันลา ไม่ว่าจะลาป่วย ลาพักผ่อน หรือลากิจ
  • นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท พักผ่อนไม่พอ จะนอนแล้วแต่ก็คิดเรื่องงาน 
  • แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จนแทบจำครั้งสุดท้ายที่พักผ่อนจริง ๆ ไม่ได้ 
  • ไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว หรือคนที่รัก 
  • ไม่มีเวลาให้กับตนเอง หรือแม้แต่อยู่เงียบ ๆ คนเดียวเพื่อชาร์จพลังงาน 

อาการเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคร้ายและอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้โดยคาดไม่ถึง โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวันทำงาน ช่วงอายุ 34-60 ปี ที่ทำงานหนักจนเกินไป หรือมีชั่วโมงทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง / สัปดาห์ พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้สูง โดยมีสาเหตุจาก โรคหัวใจ และ โรคเส้นเลือดในสมอง  

วิธีป้องกันโรคคาโรชิ ซินโดรม 

หากรู้ตัวว่ามีพฤติกรรม และอาการที่เข้าข่ายดังกล่าวในข้อในข้อหนึ่ง ไมว่าจะทำงานล่วงเวลานาน ๆ โหมงานหนักเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย หรือทำงานเร็วแต่เลิกงานช้า เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ แต่สามารถสะสมจนกลายเป็นโรคคาโรชิ ซินโดรม ได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นควรป้องกันด้วยวิธีต่อไปนี้ 

  • แบ่งเวลาพักผ่อนบ้าง 
  • งานไม่เสร็จ ก็แบ่งทำช่วงเวลาอื่นบ้าง 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 
  • ทำกิจกรรมที่ชอบ 
  • ไม่นำงานกลับไปทำที่บ้าน หรือนำเรื่องงานกลับไปคิดต่อที่บ้าน 

หากรู้สึกว่าเริ่มทำงานหนักเกินไป หรือไม่สามารถปล่อยงานตรงหน้าได้ ให้ลองปรึกษากับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน เพื่อหาทางออกและสามารถจัดการระหว่างงานและสุขภาพได้โดยไม่มีปัญหาตามมา 

administrator

Related Articles